สมันตกัปปโวหาร
สมันตกัปปโวหาร
฿300.00
฿300.00
- ประเภท : อีบุ๊ก
- สำนักพิมพ์ : สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- Author : สถาบันวิจัยสังคมมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- ISBN :-
- ภาษา : thai
- จำนวนหน้า : 35
- ขนาดไฟล์ : 1.21 MB
สมันตกัปปโวหารฉบับวัดควรค่าม้า ตำบลศรีภูมิ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ จารขึ้นในรัชสมัยของพญาพุทธวงศ์ (พ.ศ. ๒๓๖๙–๒๓๘๙) บ้านเมืองเข้าสู่ภาวะปรกติ มีการขยายหมู่บ้านออกไปรอบ ๆ เมืองเชียงใหม่ ชุมชนมีความอุดมสมบูรณ์ มีการขยายตัวทางการค้าเนื่องจากในขณะนั้นพม่าและอังกฤษอยู่ในภาวะสงคราม เนื้อเรื่องกล่าวถึงความเป็นมาและอายุของมนุษย์ การเพาะปลูก อธิบายถึง วัน เดือน ปี เหตุที่บ้านเมืองจำเป็นจะต้องมี ท้าวพญา เสนาอำมาตย์ เหตุที่ต้องเก็บภาษีส่วยอากรไร่นา ประวัติความเป็นมาของชาวลัวะ แสดงให้เห็นถึงความเชื่อของชาวล้านนาที่มีต่อชาวลัวะว่า เดิมทีชาวลัวะเป็นชาวนาที่ลุ่มเช่นเดียวกับคนทั้งหลาย ต่อมาถูกเนรเทศให้อพยพย้ายครัวขึ้นไปอยู่บนดอยเนื่องจากไม่สามารถป้องกันฝูงแพะของพวกตนไม่ให้ไปกินข้าวในไร่นาผู้อื่น ต่อมาการที่อยู่ในป่าเขาทำให้ลืมภาษาคน ที่มาของประเพณีของการปักไม้บนหลุมฝังศพ การแต่งกาย และการใช้ผ้าพันแข้งของชาวลัวะ กฎหมายโบราณมังรายศาสตร์บางส่วนที่มีลักษณะของบทลงโทษ และข้อความของกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับที่นา การทำนาที่แตกต่างไปจากกฎหมายโบราณมังรายศาสตร์ฉบับอื่น ๆ และสุดท้ายเป็นเรื่องการดูลักษณะของวัวควาย ตอนท้ายของใบลานกล่าวว่า พระโพธิลิขิตภิกขุเป็นผู้จาร