แผ่นดินไหววิทยาเชิงสถิติ (statistical seismology)
แผ่นดินไหววิทยาเชิงสถิติ (statistical seismology)
FREE
FREE
- ประเภท : อีบุ๊ก
- สำนักพิมพ์ : Chula book
- Author : สันติ ภัยหลบลี้
- ISBN :N/A
- ภาษา : ภาษาไทย
- จำนวนหน้า : 250
- ขนาดไฟล์ : 65.32 MB
วิทยาคลื่นไหวสะเทือนเชิงสถิติ (statistical seismology) เป็นศาสตร์การศึกษาพฤติกรรมการเกิดแผ่นดินไหว โดยใช้ฐานข้อมูลแผ่นดินไหว (earthquake catalogue) ที่ตรวจวัดได้จากเครื่องมือตรวจวัดแผ่นดินไหว เป็นข้อมูลหลักในการวิเคราะห์ โดยจากการประชุมเชิงปฏิบัติการระดับนานาชาติในหัวข้อ “International Workshop on Statistical Seismology (Statsei)” ซึ่งจัดขึ้นเป็นประจำจนกระทั่งการประชุมครั้งที่ 10 เมื่อวันที่ 20-24 เดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2017 ณ เมืองเวลลิงตัน ประเทศนิวซีแลนด์ ประกอบกับบทความวิจัยระดับนานาชาติจำนวนมากที่ถูกเผยแพร่สู่สาธารณะอย่างต่อเนื่อง บ่งชี้ว่าการศึกษาวิจัยด้านวิทยาคลื่นไหวสะเทือนเชิงสถิตินั้นมีประสิทธิภาพ และเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางในแวดวงการศึกษาวิจัยด้านวิทยาคลื่นไหวสะเทือนในปัจจุบัน
และเพื่อที่จะสรุปภาพรวมสถานการณ์ด้านภัยพิบัติแผ่นดินไหวในภูมิภาคอาเซียน ผู้วิจัย (ผู้เขียน) ได้ประมวลผลการศึกษาวิจัยดังกล่าวร่วมกับงานวิจัยในอดีตจากต่างประเทศ และนำเสนอผลการประมวลในรูปแบบของหนังสือเล่มนี้ โดยแบ่งย่อยและจัดหมวดหมู่องค์ความรู้ด้านวิทยาคลื่นไหวสะเทือนเชิงสถิติที่สำคัญออกเป็น 7 องค์ความรู้ ได้แก่
บทที่ 1 แหล่งกำเนิดแผ่นดินไหวในภูมิภาคอาเซียน (earthquake source in ASEAN)
บทที่ 2 ฐานข้อมูลแผ่นดินไหวและความสมบูรณ์ (earthquake catalogue and completeness)
บทที่ 3 พฤติกรรมการเกิดแผ่นดินไหว (earthquake activity)
บทที่ 4 ความเค้นทางธรณีแปรสัณฐาน (tectonic stress)
บทที่ 5 การเปลี่ยนแปลงอัตราการเกิดแผ่นดินไหว (seismicity rate change)
บทที่ 6 ระเบียบวิธีพื้นที่-เวลา-ความยาวรอยเลื่อน (region-time-length algorithm)
บทที่ 7 การประเมินภัยพิบัติแผ่นดินไหว (seismic hazard analysis)
ผู้วิจัย (ผู้เขียน) หวังเป็นอย่างยิ่งว่าหนังสือเล่มนี้ จะเป็นแหล่งความรู้ที่มีประโยชน์ต่อประชาชนทั่วไปที่สนใจสถานการณ์ด้านภัยพิบัติแผ่นดินไหว และเป็นแนวทางสำหรับนักวิจัยที่ต้องการศึกษาพฤติกรรมการเกิดแผ่นดินไหวด้วยแนวคิดวิทยาคลื่นไหวสะเทือนเชิงสถิติ รวมทั้งเป็นข้อมูลสนับสนุนสำคัญต่อหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ในการวางแผนป้องกันภัยพิบัติแผ่นดินไหวและสึนามิที่อาจเกิดขึ้นในภูมิภาคอาเซียนในอนาคต