ครูบาคติใหม่ แต่งองค์ทรงเครื่อง พุทธศรัทธาหลังกึ่งพุทธกาล
ครูบาคติใหม่ แต่งองค์ทรงเครื่อง พุทธศรัทธาหลังกึ่งพุทธกาล
คงเหลือ | รอคิว | รอ/วัน |
---|---|---|
1/1 | 0 | 0 |
- ประเภท : อีบุ๊ก
- สำนักพิมพ์ : สำนักพิมพ์มติชน
- Author : ณัฐพงศ์ ดวงแก้ว
- ISBN :9789740216445
- ภาษา : thai
- จำนวนหน้า : 258
- ขนาดไฟล์ : 5.81 MB
ครูบาคติใหม่ แต่งองค์ทรงเครื่อง พุทธศรัทธาหลังกึ่งพุทธกาล
ลอบดูหลังสบงจีวร เปิดศรัทธาที่ซ่อนอยู่กับบาตรสงฆ์
ผู้เขียน ณัฐพงศ์ ดวงแก้ว
"ครูบาคติใหม่" คือ กลุ่มสงฆ์ทางภาคเหนือที่มีผู้เคารพนับถือเป็นจำนวนมากและไม่ได้จำกัดเฉพาะแค่คนไทยเท่านั้น การทำความรู้จักและเข้าใจต่อ "ครูบาคติใหม่" จึงเป็นเรื่องที่น่าสนใจไม่น้อย เนื่องด้วยบทบาทของครูบาคติใหม่ที่เป็นผู้นำศรัทธาของผู้คน เป็นบทบาทที่ไม่ได้เห็นได้ง่าย ๆ จากพระสงฆ์ทั่ว ๆ ไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคปัจจุบัน ในยุคที่คนเข้าวัดน้อยกว่าเข้าห้าง ในโลกที่เป้าหมายชีวิตคือความร่ำรวยมากกว่าการหลุดพ้น แต่เหตุใดครูบาคติใหม่จึงเป็นที่เคารพศรัทธาของผู้คน
หนังสือเล่มนี้ไม่ใช่แค่งานเขียนที่อ้างอิงจากตำราเท่านั้น แต่ผู้เขียนได้ลงพื้นที่สำรวจ โดยเข้าไปสัมภาษณ์ครูบาคติใหม่และเข้าไปบวชคลุกคลีตีโมงอยู่ในวัดกับ "ครูบาคติใหม่" เพื่อร้อยเรียงความเป็นมาของครูบาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน อธิบายถึงความเชื่อมโยงระหว่างครูบาคติใหม่กับครูบาศรีวิชัย ทำความเข้าใจกลุ่มผู้ศรัทธา และพยายามอธิบายโลกหลังม่านพุทธศาสนาว่าอะไรคือที่มาของความนิยมและศรัทธาในตัวครูบาคติใหม่ เพื่ออธิบายการดำรงอยู่ของศาสนาในโลกยุคปัจจุบัน และตอบคำถามที่น่าฉงนของมนุษย์เราว่า ท้ายที่สุดแล้ว ศาสนาคืออะไร?
สารบัญ
1. พัฒนาการ ความหมาย และการรับรู้ของคนในปัจจุบันต่อคำว่า "ครูบา"
- จุดเริ้่มต้นของคำว่า "ครูบา" ในประวัติศาสตร์ล้านนา
- คำเรียนพระสงฆ์ในวัฒนธรรมล้านนายุคก่อนศตวรรษ 2270
ฯลฯ
2. ครูบาศรีวิชัย : การผลิตซ้ำ การสร้างภาพลักษณ์ทศวรรษ 2470-2550
- ประเภทและบทบาทของกระแสการผลิตซ้ำ และสร้างภาพลักษณ์ครูบาศรีวิชัย
- หนังสือชีวประวัติครูบาสรีวิชัย
ฯลฯ
3. ผู้ศรัทธา : ปฏิสัมพันธ์และกำเนิดแห่งความศรัทธา
- กลุ่มศรัทธา บทบาท และสัมพันธ์กับครูบาคติใหม่
- คนกรุงเทพฯ และคนต่างจังหวัดนอกพื้นที่ ภาคเหนือตอนบน
ฯลฯ
4. ครูบาคติใหม่ : การปรับตัว จุดขาย และการนำเสนอภาพลักษณ์ต่อสังคม
- แต่งองค์ทรงผ้าไตร ว่าด้วยการสร้างภาพลักษณ์ของ "ครูบาคติใหม่"
- การเชื่อมโยงผ่านการแต่งกายและการแสดงอากัปกิริยา
ฯลฯ
5. ครูบาคติใหม่ : การผลิตซ้ำและการทำภาพลักษณ์ให้ลกายเป็นสินค้า
- สินค้าครูบาคติใหม่กับการบริโภคความเชื่อแบบสังคมสมัยใหม่
- หนังสือสวดมนต์ หนังสือประวัติ และหนังสือกิจกรรม
ฯลฯ
นำเข้าโดยระบบ Bookcaze จำนวน 1 สิทธิ์